วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Assignment#3

อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย

1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่บอกชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์บ้าน เพราะผู้ร้ายสามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านเพื่อโทรสอบถามที่อยู่ของเจ้าของ บ้านได้จากบริการ 1133 ซึ่งเป็นบริการมาตรฐาน โจรผู้ร้ายและพวกจิตวิปริตอาจมาดักทำร้ายคุณได้ เวลาแช็ตก็ให้ใช้ชื่อเล่นหรือชื่อสมมุติแทน


2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ ให้กับผู้อื่น แม้แต่เพื่อน เพราะเพื่อนเองก็อาจถูกหลอกให้มาถามจากเราอีกต่อหนึ่ง


3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ


4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ


5 ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย เช่นดูประวัติ ดูการให้คอมเมนท์ Comment จากผู้ซื้อรายก่อนๆ ที่เข้ามาเขียนไว้ พิจารณาวิธีการจ่ายเงิน ฯลฯ และต้องไม่บอกรหัสบัตรเครดิต และเลขท้าย3หลักที่อยู่ด้านหลังบัตรให้แก่ผู้ขาย หรือใครๆ โดยเด็ดขาด เพราะเป็นรหัสสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต คุณอาจถูกยักยอกเงินจากบัตรเครดิตจนเต็มวงเงินที่คุณมี แล้วมารู้ตัวอีกทีก็มีหนี้บานมหาศาล นอกจากนี้คุณผู้ปกครองก็ไม่ควรวางกระเป๋าเงินที่ใส่บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ ให้เด็กหยิบง่ายๆ เพราะคำโฆษณาล่อหลอกทางเน็ต อาจทำให้เด็กอยากซื้อสินค้าที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง แล้วอาจมาเปิดดูรหัสบัตร เพื่อไปซื้อสินค้าออนไลน์ได้


6. สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)
เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย การข่มขู่จากเพื่อน การส่งต่ออีเมล์ข้อความใส่ร้ายป้ายสีรุนแรง หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อเข้ากับภาพโป๊แล้วส่งไปให้เพื่อนทุกคนดู ถูกแอบถ่ายขณะทำภารกิจส่วนตัว เป็นต้น ให้เด็กบอกพ่อแม่ ถ้าเป็นการกลั่นแกล้งในหมู่เพื่อน พ่อแม่ควรแจ้งคุณครูหรือทางโรงเรียนและผู้ปกครองของเด็กคู่กรณีให้รับทราบ พฤติกรรมการกลั่นแกล้งของเพื่อนนักเรียน เพราะการกลั่นแกล้งด้วยความรู้เท่าไม่ถึง การณ์แบบนี้ อาจทำให้เด็กที่ถูกแกล้งเสียสุขภาพจิต ไม่อยากไปโรงเรียน และมีปัญหาการเรียนได้ ซึ่งพ่อแม่เองก็ควรจะสังเกตอาการลูกๆ ด้วยว่าซึมเศร้าผิดปกติหรือเปล่า และควรพูดคุยกันอย่างเปิดเผย ส่วนการกลั่นแกล้ง แบล็คเมล์ในกรณีรุนแรงควรแจ้งตำรวจเพื่อเอาโทษกับผู้กระทำผิด



7. ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
การ ใช้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน ที่อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ที่บ้านคนอื่นต้องระวังเวลาใส่ชื่อยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดในการ ล็อคอิน เข้าไปในเว็บไซท์ หรือเปิดใช้โปรแกรมต่างๆ เช่น เปิดเช็คอีเมล เปิดใช้โปรแกรมสนทนาMSN เปิดดูข้อมูลทางการเงินส่วนตัวผ่านเว็บไซท์ธนาคารที่ให้บริการออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล็อคอินเข้าไปยังเว็บไซท์ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะต้องไม่เผลอไป ติ๊กถูกที่หน้ากล่องข้อความที่มีความหมายประมาณว่า “ให้บันทึก ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้



8. การใช้โปรแกรม MSN อย่างปลอดภัย
ถ้าเจอเพื่อนทางเน็ตที่พูดจา ข่มขู่ หยาบคาย ชวนคุยเรื่องเซ็กซ์ พยายามชวนออกไปข้างนอก ให้เลิกคุย และควรบอกพ่อแม่ด้วย รวมทั้งสกัดกั้น Block ชื่อของเพื่อนคนนั้นๆ ไม่ให้เข้ามาคุยกับเรา/ลูกของเรา หรือไม่ให้ส่งอีเมล์มาหาเราได้อีก นอกจากนี้คุณยังสามารถตั้งค่าการใช้งานโปรแกรมสนทนาให้เป็นแบบ Private ได้ เช่น ในโปรแกรมสนทนายอดนิยมอย่าง MSN Messenger สามารถตั้งค่าให้เพื่อนใหม่ที่อยากจะเข้ามาคุยกับคุณ ต้องขออนุญาติก่อน เมื่อคุณตอบตกลง เขาจึงส่งข้อความมาคุยโต้ตอบกับคุณได้ ซึ่งถ้าไม่ได้ตั้งค่าเอาไว้ ใครๆ ก็สามารถส่งข้อความมาถึงคุณได้ ซึ่งถ้าผู้ใช้เป็นเด็ก อาจได้รับข้อความถามขนาดอวัยวะ ข้อความชวนไปมีเซ็กซ์พร้อมบรรยายสรรพคุณต่างๆ ข้อความเสนอขายเซ็กซ์ทอย ฯลฯโผล่ขึ้นมาได้ ซึ่งคงไม่ดีแน่ ดังนั้นการตั้งค่า Privacy จึงเป็นการ สกรีนผู้ใช้ และป้องกันไม่ให้คุณหรือเด็ก ได้รับข้อความลามก ข้อความเชิญชวนแปลกๆ จากผู้ใช้ที่เราไม่รู้จักและไม่อยากจะคุยด้วย นอกจากนี้ ไม่ควรใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ในข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ ถ้าเคยใส่ไว้ ให้ลบออกให้หมด ถึงแม้ว่าคุณจะใช้โปรแกรมสนทนาอื่นๆ เช่น ICQ หรือแช็ตรูมตามเว็บไซท์วัยรุ่นอื่นๆ ก็ขอให้ยึดหลักปฏิบัติเดียวกันนี้ เพื่อความปลอดภัย 



9. POP-UP Blocker
การจัดการกับกล่องข้อความ ป๊อป-อัพ ที่เปิดตัวอัตโนมัติทันทีที่เราเปิดเว็บไซท์บางเว็บไซท์ ซึ่งบ่อยครั้งจะเป็นข้อความ ขายสินค้าสำหรับผู้ใหญ่ต่างๆและมักจะมีพวกสปายแวร์ กระโดด เข้ามาซ่อนอยู่ในคอมของเราอีกด้วย การป้องกัน ป๊อป-อัพ เปิดตัวอัตโนมัติทำได้ง่ายนิดเดียว สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ เข้าไปที่ Tools เลือก Pop-up Blocker เพียงเท่านี้ ก็จะไม่มีป๊อป-อัพ โผล่ขึ้นมากวนใจคุณอีก


10. กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ
ใน โปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ อย่าง อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ก็มีการตั้งค่า คอนเทนท์ แอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพและเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคาย รุนแรงได้ และยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซท์บางเว็บไซท์ 





Social Media คืออะไร

สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกัน....
คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง...
พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ


เว็บ Social Media แบ่งตามหมวด

หมวดการสื่อสาร (Communication)

  • Blogs: Blogger, LiveJournal, TypePad, WordPress, Vox
  • Internet forums: vBulletin, phpBB
  • Micro-blogging: Twitter,Plurk, Pownce, Jaiku
  • Social networking: Avatars United, Bebo, Facebook, LinkedIn, MySpace, Orkut, Skyrock, Netlog, Hi5, Friendster, Multiply
  • Social network aggregation: FriendFeed, Youmeo
  • Events: Upcoming, Eventful, Meetup.com

หมวดความร่วมมือ และแบ่งปัน (Collaboration)

  • Wikis: Wikipedia, PBwiki, wetpaint
  • Social bookmarking: Delicious, StumbleUpon, Stumpedia, Google Reader, CiteULike
  • Social news: Digg, Mixx, Reddit
  • Opinion sites: epinions, Yelp

หมวด มัลติมีเดีย (Multimedia)

  • Photo sharing: Flickr, Zooomr, Photobucket, SmugMug
  • Video sharing: YouTube, Vimeo, Revver
  • Art sharing: deviantART
  • Livecasting: Ustream.tv, Justin.tv, Skype
  • Audio and Music Sharing: imeem, The Hype Machine, Last.fm, ccMixter

หมวดรีวิว และแสดงความคิดเห็น (Reviews and Opinions)Product Reviews: epinions.com, MouthShut.com, Yelp.com

  • Q&A: Yahoo Answers

หมวดบันเทิง (Entertainment)

  • Virtual worlds: Second Life, The Sims Online
  • Online gaming: World of Warcraft, EverQuest, Age of Conan, Spore (2008 video game)
  • Game sharing: Miniclip


Traditional media  คือออะไร
เป็นสื่อจำพวกโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โดยเป็นการสื่อสารทางเดียว (one-way communication) กล่าวคือ ผู้รับสารไม่สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น  ซึ่งก็คือ สื่อจำพวกวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์นั่นเอง  ทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึง  เนื่องจากการที่จะเข้าถึงนั้นผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องมี โทรทัศน์ หรือวิทยุเป็นต้น



ความแตกต่างระหว่าง Social Media กับ Traditional media
ความแตกต่างระหว่างสื่อทั้งสองชนิดนี้คือ การที่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสารผ่านทางสื่อเหล่านี้ได้ โดย Social Media ผู้ใช้งานจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ แต่ Traditional media นั้นผู้ใช้งานไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้





Weblog มีประโยชน์อย่างไรกับแวดวงธุรกิจในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่าย สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตนเป็นต้น

บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเอง และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถฝาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำ ที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาด โดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย

นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน , ร้านค้า , ฯลฯ





Google Apps คืออะไร มีประโยชน์และการใช้งานอย่างไร

Google Apps คือ บริการอีเมล์์์ที่ไม่ได้ให้สำหรับบุคคลทั่วไป แต่มีไว้ให้สำหรับ เจ้าของเว็บไซต์ หรือ คนทำเว็บไซต์ที่มี Domain  เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการจาก Google ที่มุ่งเน้นให้บริการทางด้าน Hosting และ E-mail โดยจะนำเอาเทคโนโลยี Gmail เข้ามา integrate เข้าไปกับเว็บไซต์ของคุณ

การใช้งาน  Google Apps
  1. ตอนนี้คุณมี Domain แล้วรึยัง ถ้ายังไม่มี กรุณาติดต่อ ThaiDomainSave.com หาชื่อโดเมน ที่ต้องการ
  2. การเริ่มต้นจดโดเมน ใหม่เป็นวิธีที่ง่าย และเร็วที่สุดในการใช้ Google Apps เพียงทำตามขั้นด้านล่างนี้ ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็จะเรียบร้อย
    • ค้นหาชื่อโดเมน ที่ต้องการที่ ThaiDomainSave.com
    • แจ้งเจ้าหน้าที่ ThaiDomainSave.com ว่าต้องการใช้บริการGoogle Apps
    • จากนั้นเป็นอันเรียบร้อย อดใจรอเพียงไม่กี่ชั่วโมงขณะรอให้ DNS อัพเดท

  3. ถ้ามี Domain แล้ว แต่ยังไม่มีเว็บไซต์ และต้องการใช้ Gmail จากGoogle Apps
  4. ไม่ว่าคุณจะจดโดเมน กับผู้ให้บริการรายใด ก็สามารถให้ GICT เป็นผู้จัดการติดตั้งบริการGoogle Apps ได้ง่าย ๆ ดังนี้
    • ย้ายโดเมน มาอยู่กับ ThaiDomainSave.com วิธีนี้ GICT แนะนำว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดครับ
    • อีกวิธี ก็ง่ายดายไม่แพ้กันครับ เพียงแจ้งผู้จดทะเบียนโดเมน ว่าให้ช่วยชี้ DNS มาที่ ns.thaihostsave.com และ ns2.thaihostsave.com

  5. หากคุณมี Domain และมีเว็บไซต์อยู่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องการเพียงใช้ Gmail แทนระบบอีเมล์เก่าของคุณ
  6. วิธีการนี้ก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ เนื่องจากประสบการณ์ และเทคโนโลยีที่ล้ำนำหน้าผู้ให้บริการอีเมล์์รายใด ๆ ขั้นตอนในการติดตั้งมี 2 วิธี ดังนี้
    • ย้ายโดเมน มาอยู่กับ ThaiDomainSave.com วิธีนี้ GICT แนะนำว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดครับ
    • อีกวิธี ก็ง่ายดายไม่แพ้กันครับ เพียงแจ้งผู้จดทะเบียนโดเมน ว่าให้ช่วยชี้ DNS มาที่ ns.thaihostsave.com และ ns2.thaihostsave.com


ประโยชน์ของ  Google Apps

แอปพลิเคชันการส่งข้อความและการทำงานร่วมกันที่ทำงานแบบเว็บของ Google ไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ และต้องการการดูแลระบบน้อยที่สุด สร้างเวลาเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจผู้ใช้สามารถใช้งาน ส่วนติดต่อของ Microsoft Outlook ที่คุ้นเคยสำหรับอีเมล ที่อยู่ติดต่อ และปฏิทินได้ เมื่อเปลี่ยนไปใช้ Gmail และ Google ปฏิทิน บริษัททำวิจัยชั้นนำพบว่า Google Apps มีค่าใช้จ่ายโดยรวมเพียง 1/3 ของค่าใช้จ่ายสำหรับโซลูชันคู่แข่ง ต้องการดูใช่หรือไม่ว่าคุณสามารถประหยัดได้มากเพียงใดเมื่อใช้งาน Google Apps โดยเปรียบเทียบกับ Microsoft Exchange 2007 ประมาณการเงินที่คุณประหยัดได้

พื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม 50 เท่า
พนักงานแต่ละรายจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลอีเมลขนาด 25 กิกะไบต์ ดังนั้นจึงสามารถเก็บข้อมูลสำคัญและค้นหาได้ทันทีด้วยการค้นหาของ Google ที่มีอยู่ภายในระบบ Gmail ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้พนักงานสามารถลดเวลาในการจัดการกับกล่องจดหมายของตน และเพิ่มเวลาในการทำงาน คุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา ดังเช่น สายข้อมูลของข้อความ ป้ายกำกับข้อความ การค้นหาข้อความอย่างรวดเร็ว และการกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานกับอีเมลปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเข้าถึงอีเมล ปฏิทิน และ IM บนโทรศัพท์มือถือ
ด้วยการใช้ตัวเลือกมากมายสำหรับการเข้าถึงข้อมูลขณะเดินทาง พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Google Apps แม้ว่าจะไม่อยู่ที่โต๊ะของตนก็ตาม Google Apps สนับสนุนการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือแบบไร้สายในอุปกรณ์ BlackBerry, iPhone, Windows Mobile, Android และโทรศัพท์หลายประเภทที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 

รับประกันความน่าเชื่อถือของความพร้อมในการทำงาน 99.9%
เรารับประกันว่า Google Apps จะมีความพร้อมในการทำงานอย่างน้อย 99.9% ดังนั้นพนักงานของคุณจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น และคุณจะกังวลใจน้อยลงเกี่ยวกับการหยุดทำงานของระบบ การจำลองข้อมูลแบบซิงโครนัส ทำให้ข้อมูลและกิจกรรมของคุณใน Gmail, Google ปฏิทิน, Google เอกสารและ Google Sites มีการเก็บรักษาไว้ในเวลาเดียวกันในศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยหลายแห่ง ถ้าศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งไม่สามารถตอบสนองคำขอของคุณ ระบบของเราได้รับการออกแบบให้เปลี่ยนกลับไปยังศูนย์ข้อมูลอีกแห่งซึ่งสามารถ ให้บริการบัญชีของคุณได้โดยที่ไม่เกิดการสะดุดขึ้น
Radicati Group พบว่าโดยปกติแล้ว Microsoft Exchange จะมีเวลาหยุดทำงานโดยไม่ได้กำหนดไว้เป็นเวลา 60 นาทีต่อเดือน ลูกค้าของ Google Apps พบว่าโดยปกติแล้วระบบจะหยุดทำงานน้อยกว่า 15 นาทีต่อเดือน

ความปลอดภัยของข้อมูลและเป็นไปตามข้อกำหนด
เมื่อคุณวางใจที่จะมอบข้อมูลของบริษัทแก่ Google คุณสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของคุณจะปลอดภัยทีมงานรักษาความปลอดภัยข้อมูลของ Google ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล แอปพลิเคชัน และเครือข่าย มุ่งเน้นที่จะรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัย Google และลูกค้าอื่นๆ จำนวนมากวางใจใช้ระบบนี้กับข้อมูลบริษัทที่มีความสำคัญสูง

ธุรกิจสามารถรับคุณลักษณะการรักษาความปลอดภัยที่สามารถปรับแต่งได้เหล่านี้กับ Google Apps:
- เครื่องมือการกรองสแปมและอีเมลขาเข้าที่กำหนดเอง ขับเคลื่อนโดย Postini เพื่อเสริมตัวกรองสแปม
  ที่มีประสิทธิภาพซึ่งทำงานโดยอัตโนมัติและไม่ต้องกำหนดค่าใดๆ
- เครื่องมือการกรองอีเมลขาออกที่กำหนดเองเพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญจากการถูกเผยแพร่ ซึ่งขับเคลื่อนโดย Postini
- กฎการแบ่งปันข้อมูลที่กำหนดเองเพื่อระบุขอบเขตที่พนักงานได้รับอนุญาตให้สามารถแบ่งปัน
  ด้วยGoogle เอกสาร, Google ปฏิทิน และ Google Sites
- ข้อกำหนดความยาวของรหัสผ่านที่กำหนดเองและเครื่องแสดงความเข้มงวดด้วยภาพที่จะช่วยให้พนักงานเลือกรหัสผ่านที่ปลอดภัย
- การเชื่อมต่อ SSL ที่บังคับใช้กับ Google Apps เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึง HTTPS อย่างปลอดภัย
- การเก็บอีเมลแบบถาวรซึ่งเป็นตัวเลือก สามารถเก็บรักษาได้ถึง 10 ปี

การควบคุมการดูแลระบบและข้อมูลแบบสมบูรณ์
ผู้ดูแลระบบสามารถปรับแต่ง Google Apps ในเชิงลึกเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านเทคนิค ตราสินค้า และธุรกิจของตนได้
ตัวเลือกการผสานรวมจะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อ Google Apps กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีอยู่ของคุณ
- API การลงชื่อเพียงครั้งเดียวจะเชื่อมต่อ Google Apps กับระบบการตรวจสอบสิทธิ์ที่มีอยู่ของคุณ
- เครื่องมือและ API การจัดสรรสำหรับผู้ใช้จะเชื่อมต่อ Google Apps กับระบบไดเรกทอรีผู้ใช้ที่มีอยู่ของคุณ
- การสนับสนุนการกำหนดเส้นทางอีเมลและเกตเวย์อีเมลจะช่วยให้คุณสามารถใช้งาน Google Apps 
  ควบคู่ไปกับโซลูชันอีเมลที่มีอยู่
- เครื่องมือและ API การโอนย้ายข้อมูลอีเมลจะทำให้คุณสามารถนำอีเมลจากโซลูชันอีเมลที่มีอยู่ของ    
   คุณไปยัง Google Apps

การกำหนดตราสินค้าของระบบและความเป็นเจ้าของข้อมูลเป็นการกำหนดรูปลักษณ์ของ Google Apps ให้เป็นแบบของคุณเอง ช่วยให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะเป็นเจ้าของข้อมูลพนักงาน
- กำหนดบัญชีผู้ใช้ด้วยตนเองในโดเมนอินเทอร์เน็ตของบริษัทของคุณ
- โลโก้และสีที่กำหนดเองในแอปพลิเคชัน
- การเป็นเจ้าของข้อมูลพนักงานของลูกค้าตามสัญญา 

การสนับสนุนลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงที่เป็นประโยชน์
Google Apps มีความน่าเชื่อถือในระดับสูงและทำงานได้อย่างง่ายดาย แต่การสนับสนุนมีให้สำหรับผู้ดูแลระบบ หากคุณต้องการใช้งาน
ตัวเลือกการสนับสนุนประกอบด้วย:
- การสนับสนุนทางโทรศัพท์สำหรับปัญหาร้ายแรง
- การสนับสนุนทางอีเมล
- การสนับสนุนทางออนไลน์สำหรับการบริการตนเอง 

Google Apps ยังมีเครือข่ายพันธมิตรที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ ในการปรับใช้งาน การโอนย้ายข้อมูล การฝึกอบรมผู้ใช้ การผสานรวมระบบ และการพัฒนาแอปพลิเคชันที่กำหนดเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น